วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

Marzano

Marzano



มาร์ซาโน เป็นนักได้พัฒนารูปแบบจุดมุ่งหมายทางการศึกษารูปแบบใหม่ ( new taxonomy of educational objectives)

ประเภทของความรู้ 3 ประเภท ได้แก่
 1) ข้อมูล เน้นการจัดระบบความคิดเห็น จากข้อมูลง่ายสู่ข้อมูลยาก
 2) กระบวนการ เน้นกระบวนการเพื่อการเรียนรู้จากทักษะสู่กระบวนการอัตโนมัติอันเป็นส่วนหนึ่งของความสามารถที่สั่งสมไว้
 3) ทักษะ เน้นการเรียนรู้ที่ใช้ระบบโครงสร้างกล้ามเนื้อจากทักษะง่ายสู่กระบวนการที่ซับซัอนขึ้น

กระบวนการจดกระทำกับขัอมูล 6 ระดับ ดังนี้
ระดับที่ 1 ขั้นรวบรวม เป็นการคิดทบทวนความรู้เดิม รับข้อมูลใหม่และเก็บเป็น
 ระดับที่ 2 ขั้นเขัาใจ  เป็นการเข้าใจสาระที่เรียนรู้สู่การเรียนรู้ใหม่ในรูปแบบการใช้สัญลักษณ์เป็นการส่งเคราะห์โครงสร้างพื้นฐานของความรู้นั้นโดยเข้าใจประเด้นความสำคัญ
 ระดับที่ 3  ขั้นวิเคราะห์เป็นการจำแนกความเหมือนและความต่างอย่างงมีหลักการ การจัดหมวดหมู่
ระดับที่ 4 ขันใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์ เป็นการตัดสินใจในสถานการณ์ที่ไม่มีคำตอบชัดเจน การแก้ไขปัญหาทียุ่งยาก
ระดับที่5 ขันบูรณาการความรู้ เป็นการจัดระบบความคิดเพื่อบรรลุเป้าหมาย
ระดับที่ 6 ขันจัดระบบแห่งตน เป็นการสร้างระดับแรงจูงใจต่อภาวะการเรียนรู้และภาวะงานที่ได้รับมอบหมาย

การกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ : SOLO Taxonomy


การกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ : SOLO Taxonomy

คำสำคัญ (Key word)
·       SOLO
·       Taxonomy
                SOLO: The Structure of Observed Learning Outcome คือ โครงสร้างการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้
            Taxonomy มีความหมายเดียวกับคำว่า Classification คือ การจัดแบ่งประเภท แต่ Taxonomy นั้น จะกล่าวถึง หลักทางวิชาการที่ใช้เพื่อระบุประเภทของสิ่งมีชีวิตทางชีววิทยาที่มีลักษณะร่วมกันและทำการกำหนดชื่อให้กับกลุ่มสิ่งมีชีวิตนั้นๆ    
           หากกล่าวถึงการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้สอนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงเกณฑ์การกำหนดคุณภาพของ Bloom หรือ Bloom’s Taxonomy ซึ่งหากศึกษาดูแล้วเราจะพบว่า Bloom’s Taxonomy นั่นมีแนวโน้มที่จะถูกใช้โดยผู้สอนเสียเป็นส่วนมาก แต่ถ้าหากการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียนนั้นมีผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดด้วยแล้ว หลักการที่จะต้องพูดถึงนั่นก็คือ SOLO Taxonomy ซึ่งเป็นการกำหนดระดับผลการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยที่ไม่มุ่งเน้นเฉพาะแค่การสอนและการให้คะแนนจากผลงานแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นกระบวนการประเมินผลที่ให้ความสำคัญว่า ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้อย่างไร และผู้สอนมีวิธีการอย่างไรที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการทางปัญญาที่มีความซับซ้อนและก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
                SOLO Taxonomy หรือ The Structure of Observed Learning Outcome Taxonomy จึงเป็นแบบ (Model) ที่ใช้ในการใช้ระบุ บรรยาย หรืออธิบาย ระดับความเข้าใจอันซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นของผู้เรียนในสาระหรือรายวิชา ซึ่งผู้เสนอแนวคิดนี้จนกลายเป็นที่นิยมคือJohn B. Biggs และ Kelvin Collis (1982)
              
  แบบของ SOLO Taxonomy ประกอบด้วยระดับความเข้าใจ 5 ระดับ ดังนี้

1.     Pre-structural (ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน) คือ ในระดับนี้ผู้เรียนจะยังคงไม่เข้าใจจุดมุ่งหมายที่แท้จริง และยังคงใช้วิธีการง่ายๆในการทำความเข้าใจสาระเนื้อหา เช่น ผู้เรียนรับทราบแต่ยังคงพลาดประเด็นที่สำคัญ
2.     Uni-structural (ระดับมุมมองเดียว) คือ การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งไปที่มุมมองที่เกี่ยวข้องเพียงมุมมองเดียว เช่น สามารถระบุชื่อได้ จำได้ และทำตามคำสั่งง่ายๆได้
3.     Multi-structural (ระดับหลายมุมมอง) คือ การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งเน้นไปที่หลายๆมุมมองโดยการปฏิบัติต่อผู้เรียนจะเป็นไปอย่างอิสระ เช่น สามารถอธิบายได้ ยกตัวอย่างได้ หรืออาจเชื่อมโยงได้
4.     Relational (ระดับเห็นความสัมพันธ์) คือ การบูรณาการความสัมพันธ์ต่างๆเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เช่น ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ระบุความแตกต่าง แสดงความสัมพันธ์ อธิบายเชิงเหตุผล และ/หรือนำไปใช้ได้
5.     Extended abstract (ระดับขยายนามธรรม) คือ จากขั้นบูรณาการเชื่อมโยงความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน จากนั้นจึงมาสู่การสร้างเป็นแนวคิดนามธรรมขั้นสูง หรือการสร้างทฤษฎีใหม่ เช่น การสร้างสรรค์ สะท้อนแนวคิด สร้างทฤษฏีใหม่ เป็นต้น


รูปแบบโครงสร้างของ SOLO Taxonomy และกริยาบ่งชี้ระดับความเข้าใจของผู้เรียน

สมาชิกในกลุ่ม The Best Choice

1.นางสาวสุมิตรา  แก้วคง 5641070005
2.นายปฏิพัทธ์  สุยบางดำ 5641070012
3.นางสาวสุทธิพร  วิเศษเขตรการณ์ 5641070015
4.นางสาวทิพวรรณ  ทองพูน 5641070035
5.นางสาวภัทรวรรณ  ครุฑคาบแก้ว 5641070039
6.นายพุฒิพงษ์  มะเดโช 5641070040
7.นางสาวเสาวภา  พรหมบุตร 5641070041
8.นางสาวรัชนีกร  เอี่ยมสมาน 5641070050

งานชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาสัมนาปัญหาการศึกษา


สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี